Drupal GeoCMS

______วันนี้จั่วหัวมาถึง GeoCMS บน WebCMS ชื่อดังอย่าง Drupal เพราะผมก็เป็นอีกคนที่หลงรัก Drupal และก็ใช้เจ้า Drupal มาสักปีกว่าแล้ว ด้วยความชื่นชอบและนิยมส่วนตัวประกอบกับผมชอบความยืดหยุ่นในการเขียน module หรือการปรับแต่เพิ่มเติม code ด้วย PHP ที่ทำได้ง่ายกว่า CMS ตัวอื่นๆที่สำคัญเหตุผมหลักของการเลือกใช้ Opensource Software นั้นคือ Community ต้องแข็งแกร่งและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผมเองไม่ขอบรรยายสรรพคุณของ Drupal อะไรมากเพราะถ้าคนที่เป็น developer ซึ่งใช้ CMS อยู่แล้วน่าจะรู้จัก Drupal ดีหรือไม่อย่างน้อยท่านน่าจะผ่านตากับเวทีการเปรียบมวยของ CMS ซึ่งมีทุกปีและแน่นอนว่าปี 2010 Drupal ก็เข้าวินอีกตามเคย ผมมีการเปรียบมวยจากกูรูเมืองไทยมาให้อ้างอิงด้วย เผื่อว่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกและทางตัดสินใจด้วยครับแวะไปดูได้ที่ http://blognone.com/node/15849

_______ประเด็นที่จะเขียนคงไม่ได้ไปเน้นที่ Drupal เพราะผมเชื่อว่ามีคนเขียนมากแล้วในหลายด้าน แต่งานด้าน GIS ไม่มีหรือมีน้อยมาก ประกอบกับความเข้าใจผิดของคำว่า GeoCMS (Geo Content Management) ที่คนส่วนมากเข้าใจว่าการนำข้อมูล GIS ไปใส่ CMS ทำได้แค่การให้ user เผยแพร่แค่ภาพแผนที่ (Bitmap) คล้ายกับการจัดการ content ที่เป็น image หรือ bimap ทั่วไป สูงมาหน่อยอาจจะมี Google Map มาร่วมบ้างแต่ก็ยังไม่ full scale ในงานด้าน Geoinfomatic ผมเลยอยากนำเสนอ Drupal Openlayer Module ซึ่งทำหน้าที่รองรับการสร้าง content ที่เกี่ยวกับ Spatial จากผู้ใช้ทั้งจากการระบุตำแหน่ง x,y หรือการสร้าง Geocontent แบบ Simple Feature ชนิด WKT ผ่านทางเครื่องมือของ Openlayer นอกจากนี้ยังรองรับการ integrate การทำงานกับ WebGIS ชนิดต่างๆทั้ง Google Map,Yahoo Map, OSM, WMS เป็นต้น ที่สำคัญเราสามารถ customize ตัว template ของ Module ได้ วันนี้ผมขอนำมาสาธิตการใช้งานให้ได้ดูกันครับ โดยกรณีศึกษาผมทำระบบ WebGIS for Climate Change โดยใช้ Drupal GeoCMS +Mapserver+tilecache+Openlayer+pyWPS (online heatemap and Spatial analysis) +Postgresql+Postgis

1. เข้าสู้หน้าแรกของ CMS

2. สร้าง Blog Content จากผู้ใช้

3.  Create Forum สำหรับการสื่อสารและแลกเปลี่ยนของผู้ใช้

4.  WebGIS Application

5.  ขั้นตอนการสร้าง Map Service Content สำหรับ GeoCMS Application

– 5.1 การสร้าง Layers จาก WMS Server

– 5.2 กำหนด presets สำหรับ Map  Content

6. ขั้นตอนการนำเข้า เก็บข้อมูลจากผู้ใช้ บน Drupal GeoCMS

– 6.1 ผู้ใช้ ทำการสร้าง content เหมือนกับการสร้าง Content ทั่วไป

– 6.2 เลือก Map Content สำหรับนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial)

-6.3 เพิ่ม content เชิง attribute ลงไป รวมถึงการกำหนดรูปภาพและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงตำแหน่ง

-6.4 สร้างข้อมูล Spatial Feature บน Application โดยข้อมูลจะเข้ารหัสในรูปแบบ WKT

ผมทำการ digitize จุดตำแหน่งของพื้นที่เป้าหมายลงไป

– 6.5 ทำการ SAVE และตรวจสอบผลลัพธ์ของ Content ที่สร้างขึ้น

– 6.6 ข้อมูลทั้งหมดที่ผู้ใช้ นำเข้าสู่ระบบก็จะไปรวมอยู่ที่ฐานข้อมูล Postgresql และแสดงผลบน WebGIS Application ที่เราสร้างไว้บน CMS ได้ดังภาพครับ

______จากการสาธิตผมว่า Drupal Openlayer  น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการนำเอา CMS ไปใช้จัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial) ก็เป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่มีความสำคัญในระบบสารสนเทศ และมีบทบาทที่ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ จัดการและนำไปแก้ไขปัญหาต่างๆได้ การใช้ GeoCMS ร่วมกับ WebGIS จึงน่าจะมีบทบาทและถูกนำไปใช้มากขึ้นในอนาคต ตัวอย่างที่สาธิตก็เป็นอีกกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า Drupal สามารถรองรับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS)และ location Base service (LBS)ได้ ซึ่งแน่นอนว่าเป็น CMS เพียงไม่กี่ตัวที่สามารถทำได้ครับ

ใส่ความเห็น

สร้างเว็บไซต์หรือบล็อกฟรีที่ WordPress.com.

Up ↑